Saturday, August 8, 2009
กินหอยระวังมีเชื้อโรคเพียบแนะนำวิธีลวก
สธ.เตือนผู้นิยมเปิบ “หอย” ให้ระวังอันตราย ชี้ หอยแครง-หอยแมลงภู่ ที่ลวก หรือนึ่งเสร็จแล้วใส่ถุงไว้ขายตามตลาดนัด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษอยู่บานเบอะ ผลการวิจัยหอยแมลงภู่ที่นึ่งขายตามตลาดมีเชื้อร้ายสูงถึง 88.9% ขณะที่หอยแครงลวกคนขายใช้แค่น้ำร้อนธรรมดา แถมใช้เวลาลวกแค่แป๊บเดียวหอยยังมีเลือดแดงสด ๆ ติดอยู่ แนะวิธีลวกหอยต้องใช้น้ำเดือดลวกนาน 1-2 นาที ส่วนการนึ่งหอยต้องนาน 5-7 นาที จะฆ่าเชื้อโรคได้หมดกินหอยได้อย่างปลอดภัย
ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อวันที่ 26 ม.ค. มีการจัดสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 โดย น.ส.สุกัญญา จงถาวรสถิต นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนและคณะได้วิจัยเรื่อง “การปนเปื้อนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษในหอยแครงและหอยแมลงภู่พร้อมบริโภค” เนื่องจากเห็นว่าโรคอาหารเป็นพิษพบได้ตลอดทั้งปี โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551-8 ต.ค.2551 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 86,834 ราย เสียชีวิต 3 ราย ปัจจัยเสี่ยงและแหล่งโรคส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเลที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จึงได้ศึกษาการปนเปื้อนในหอยแครงและหอยแมลงภู่พร้อมบริโภคที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด และร้านอาหาร จากการสุ่มเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่นึ่งทันที หอยแมลงภู่ที่นึ่งไว้แล้ว หอยแครงลวกทันที และหอยแครงลวกไว้แล้วที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า 10 แห่ง จำนวน 20 ตัวอย่าง ตลาดนัด 10 แห่ง จำนวน 24 ตัวอย่าง และร้านอาหาร 10 แห่ง จำนวน 17 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์เชื้อและปัจจัยที่มีผลต่อการพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ พบว่า ตัวอย่างจากห้างสรรพสินค้า ตรวจพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ คือ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemo lyticus) และซัลโมเนลลา 13 ตัวอย่าง จาก 20 ตัวอย่าง คิดเป็น 65% จากตลาดนัด พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 16 ตัวอย่าง จาก 24 ตัวอย่าง คิดเป็น 66.6% และร้านอาหาร พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 4 ตัวอย่างจาก 17 ตัวอย่าง คิดเป็น 23.52% “ทั้งนี้หอยแมลงภู่นึ่งไว้แล้วที่จำหน่ายที่ตลาดนัดพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษมากที่สุด คือ 88.9% หอยแครงที่ลวกไว้แล้วที่จำหน่ายทั้ง 3 แห่ง พบเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษทุกตัวอย่าง หอยแมลงภู่นึ่งไว้แล้วมีโอกาสพบเชื้อมากกว่าหอยแมลงภู่ที่นึ่งทันที 11.4 เท่า ดังนั้นควรเลือกบริโภคหอยแมลงภู่และหอยแครงที่ผ่านการให้ความร้อนที่เหมาะสมและปรุงสุกใหม่” น.ส. สุกัญญา กล่าว น.ส.สุกัญญา ยังกล่าวด้วยว่า หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมหอยแครงหรือหอยแมลงภู่ที่ลวกหรือนึ่งไว้แล้วพร้อมรับประทานจึงมีเชื้อโรคอยู่ สันนิษฐานว่า เป็นเพราะช่วงที่ลวกหรือนึ่งนั้นใช้เวลานิดเดียว เช่น หอยแครงในตลาดนัดลวกเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งน้ำที่ใช้ลวกก็ไม่เดือดแค่ร้อน ๆ และไม่ได้มีการเปลี่ยนน้ำบ่อย ตอนนำหอยแครงขึ้นมาหอยยังมีเลือดสด ๆ อยู่ทำให้พบเชื้อโรค ส่วนกรณีของหอยแมลงภู่ ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า หรือ ตลาดนัดที่ตรวจพบ สันนิษฐานว่า ผู้ประกอบอาหารใช้เวลานึ่งไม่นาน บางแห่งมีการนึ่งตั้งแต่เช้าแล้วนำมาจำหน่ายในช่วงเย็น หรือ นึ่งตั้งแต่เช้า ตอนเย็นก็ยังขายไม่หมด อย่างที่ตรวจในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นซึ้งนึ่งอาหารที่มีอยู่ 3 ชั้น ชั้นล่างลวก ชั้น 2 และ 3 นึ่ง แต่เนื่องจากการใช้เวลาไม่นานทำให้เชื้อโรคยังมีอยู่ จะสังเกตว่า บางแห่งเนื้อหอยแมลงภู่ยังมีขนาดใหญ่เต็มเท่าฝาหอยไม่ได้หดลงเลย
ด้าน นางอรุณ บ่างตระกูลนนท์ ผอ. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหอยแครงและหอยแมลงภู่สด ๆ จากตลาดใน จ.นนทบุรี 10 แห่ง มาตรวจ พบเชื้ออาหารเป็นพิษ คือ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ในหอยแครงร้อยละ 100 ในหอยแมลงภู่พบร้อยละ 80 พบเชื้อซัลโมเนลลา ในหอยแครงร้อยละ 10 และในหอยแมลงภู่ร้อยละ 70
หากจะทำ ลายเชื้อโรคด้วยการลวกหอยแครงจะต้องทำในน้ำเดือดนาน 1-2 นาที ส่วนวิธีอบหรือนึ่งหอยแมลงภู่ต้องใช้เวลา 5-7 นาที จึงสามารถทำลายเชื้อโรคได้หมด
ที่มา เดลินิวส์
IC Swiss Cheese model
เปรียบเทียบงานติดตามอาการไม่พึงประสงค์เหมือนก้อนชีส ที่แบ่งย่อยออกเป็นแผ่นของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ถ้าเราละเลยงานในส่วนของเราไป ไม่ทำให้เรียบร้อย แล้วบังเอิญฝ่ายอื่นก็ละเลยเหมือนกัน ความผิดพลาด และอันตรายก็จะตกถึงตัวผู้ป่วยได้ เหมือนแผ่นชีสที่ทุกแผ่นบังเอิญมีรูตรงกัน
ศาสตราจารย์ James Reason นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เคยกล่าวไว้ประมาณว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความผิดพลาด เปรียบได้กับ เนยแข็ง (Swiss Cheese) 1 แผ่น
ข้อผิดพลาด เปรียบได้กับ รูที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วแผ่นเนยแข็ง หากเรานำแผ่นเนยแข็งหลายๆแผ่น (ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความผิดพลาด) มาเรียงซ้อนกัน หากเกิดรูตรงกันทุกแผ่น ก็เ่ท่ากับ "BOMB!!!!" เกิดข้อผิดพลาด หรืออุบัติเหตุดังนั้น วิธีการป้องกันข้อบกพร่องหรืออุบัติเหตุ ก็คือ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาพร้อมๆ กัน นั่นเองแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือ ความผิดพลาดมีอะไร ศาสตราจารย์บอกว่า มี
ปัจจัยหลัก 5 ส่วน ได้แก่
1. Man (มนุษย์) 2. Machine อุปกรณ์/เครื่องจักร
3. Media (Medium) สิ่งแวดล้อม4. Mission ภารกิจ (หน้าที่)
5. Management การบริหารจัดการ
Subscribe to:
Posts (Atom)