Saturday, August 8, 2009
กินหอยระวังมีเชื้อโรคเพียบแนะนำวิธีลวก
สธ.เตือนผู้นิยมเปิบ “หอย” ให้ระวังอันตราย ชี้ หอยแครง-หอยแมลงภู่ ที่ลวก หรือนึ่งเสร็จแล้วใส่ถุงไว้ขายตามตลาดนัด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษอยู่บานเบอะ ผลการวิจัยหอยแมลงภู่ที่นึ่งขายตามตลาดมีเชื้อร้ายสูงถึง 88.9% ขณะที่หอยแครงลวกคนขายใช้แค่น้ำร้อนธรรมดา แถมใช้เวลาลวกแค่แป๊บเดียวหอยยังมีเลือดแดงสด ๆ ติดอยู่ แนะวิธีลวกหอยต้องใช้น้ำเดือดลวกนาน 1-2 นาที ส่วนการนึ่งหอยต้องนาน 5-7 นาที จะฆ่าเชื้อโรคได้หมดกินหอยได้อย่างปลอดภัย
ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อวันที่ 26 ม.ค. มีการจัดสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 โดย น.ส.สุกัญญา จงถาวรสถิต นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนและคณะได้วิจัยเรื่อง “การปนเปื้อนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษในหอยแครงและหอยแมลงภู่พร้อมบริโภค” เนื่องจากเห็นว่าโรคอาหารเป็นพิษพบได้ตลอดทั้งปี โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551-8 ต.ค.2551 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 86,834 ราย เสียชีวิต 3 ราย ปัจจัยเสี่ยงและแหล่งโรคส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเลที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จึงได้ศึกษาการปนเปื้อนในหอยแครงและหอยแมลงภู่พร้อมบริโภคที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด และร้านอาหาร จากการสุ่มเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่นึ่งทันที หอยแมลงภู่ที่นึ่งไว้แล้ว หอยแครงลวกทันที และหอยแครงลวกไว้แล้วที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า 10 แห่ง จำนวน 20 ตัวอย่าง ตลาดนัด 10 แห่ง จำนวน 24 ตัวอย่าง และร้านอาหาร 10 แห่ง จำนวน 17 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์เชื้อและปัจจัยที่มีผลต่อการพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ พบว่า ตัวอย่างจากห้างสรรพสินค้า ตรวจพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ คือ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemo lyticus) และซัลโมเนลลา 13 ตัวอย่าง จาก 20 ตัวอย่าง คิดเป็น 65% จากตลาดนัด พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 16 ตัวอย่าง จาก 24 ตัวอย่าง คิดเป็น 66.6% และร้านอาหาร พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 4 ตัวอย่างจาก 17 ตัวอย่าง คิดเป็น 23.52% “ทั้งนี้หอยแมลงภู่นึ่งไว้แล้วที่จำหน่ายที่ตลาดนัดพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษมากที่สุด คือ 88.9% หอยแครงที่ลวกไว้แล้วที่จำหน่ายทั้ง 3 แห่ง พบเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษทุกตัวอย่าง หอยแมลงภู่นึ่งไว้แล้วมีโอกาสพบเชื้อมากกว่าหอยแมลงภู่ที่นึ่งทันที 11.4 เท่า ดังนั้นควรเลือกบริโภคหอยแมลงภู่และหอยแครงที่ผ่านการให้ความร้อนที่เหมาะสมและปรุงสุกใหม่” น.ส. สุกัญญา กล่าว น.ส.สุกัญญา ยังกล่าวด้วยว่า หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมหอยแครงหรือหอยแมลงภู่ที่ลวกหรือนึ่งไว้แล้วพร้อมรับประทานจึงมีเชื้อโรคอยู่ สันนิษฐานว่า เป็นเพราะช่วงที่ลวกหรือนึ่งนั้นใช้เวลานิดเดียว เช่น หอยแครงในตลาดนัดลวกเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งน้ำที่ใช้ลวกก็ไม่เดือดแค่ร้อน ๆ และไม่ได้มีการเปลี่ยนน้ำบ่อย ตอนนำหอยแครงขึ้นมาหอยยังมีเลือดสด ๆ อยู่ทำให้พบเชื้อโรค ส่วนกรณีของหอยแมลงภู่ ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า หรือ ตลาดนัดที่ตรวจพบ สันนิษฐานว่า ผู้ประกอบอาหารใช้เวลานึ่งไม่นาน บางแห่งมีการนึ่งตั้งแต่เช้าแล้วนำมาจำหน่ายในช่วงเย็น หรือ นึ่งตั้งแต่เช้า ตอนเย็นก็ยังขายไม่หมด อย่างที่ตรวจในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นซึ้งนึ่งอาหารที่มีอยู่ 3 ชั้น ชั้นล่างลวก ชั้น 2 และ 3 นึ่ง แต่เนื่องจากการใช้เวลาไม่นานทำให้เชื้อโรคยังมีอยู่ จะสังเกตว่า บางแห่งเนื้อหอยแมลงภู่ยังมีขนาดใหญ่เต็มเท่าฝาหอยไม่ได้หดลงเลย
ด้าน นางอรุณ บ่างตระกูลนนท์ ผอ. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหอยแครงและหอยแมลงภู่สด ๆ จากตลาดใน จ.นนทบุรี 10 แห่ง มาตรวจ พบเชื้ออาหารเป็นพิษ คือ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ในหอยแครงร้อยละ 100 ในหอยแมลงภู่พบร้อยละ 80 พบเชื้อซัลโมเนลลา ในหอยแครงร้อยละ 10 และในหอยแมลงภู่ร้อยละ 70
หากจะทำ ลายเชื้อโรคด้วยการลวกหอยแครงจะต้องทำในน้ำเดือดนาน 1-2 นาที ส่วนวิธีอบหรือนึ่งหอยแมลงภู่ต้องใช้เวลา 5-7 นาที จึงสามารถทำลายเชื้อโรคได้หมด
ที่มา เดลินิวส์
IC Swiss Cheese model
เปรียบเทียบงานติดตามอาการไม่พึงประสงค์เหมือนก้อนชีส ที่แบ่งย่อยออกเป็นแผ่นของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ถ้าเราละเลยงานในส่วนของเราไป ไม่ทำให้เรียบร้อย แล้วบังเอิญฝ่ายอื่นก็ละเลยเหมือนกัน ความผิดพลาด และอันตรายก็จะตกถึงตัวผู้ป่วยได้ เหมือนแผ่นชีสที่ทุกแผ่นบังเอิญมีรูตรงกัน
ศาสตราจารย์ James Reason นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เคยกล่าวไว้ประมาณว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความผิดพลาด เปรียบได้กับ เนยแข็ง (Swiss Cheese) 1 แผ่น
ข้อผิดพลาด เปรียบได้กับ รูที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วแผ่นเนยแข็ง หากเรานำแผ่นเนยแข็งหลายๆแผ่น (ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความผิดพลาด) มาเรียงซ้อนกัน หากเกิดรูตรงกันทุกแผ่น ก็เ่ท่ากับ "BOMB!!!!" เกิดข้อผิดพลาด หรืออุบัติเหตุดังนั้น วิธีการป้องกันข้อบกพร่องหรืออุบัติเหตุ ก็คือ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาพร้อมๆ กัน นั่นเองแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือ ความผิดพลาดมีอะไร ศาสตราจารย์บอกว่า มี
ปัจจัยหลัก 5 ส่วน ได้แก่
1. Man (มนุษย์) 2. Machine อุปกรณ์/เครื่องจักร
3. Media (Medium) สิ่งแวดล้อม4. Mission ภารกิจ (หน้าที่)
5. Management การบริหารจัดการ
Saturday, July 11, 2009
Food, Hands and Bacteria
Stop the Population Explosion: Wash Your Hands!
Bacteria have their own population explosion going. They can reproduce every 20 minutes.
The number of bacteria on your body right now is greater than the number of people in the United States.
Like people, bacteria may be good or bad, depending on what they do to you or for you. And like people, bacteria are here to stay. We can’t get rid of them, so we must learn to live with them.
Some bacteria spend their lives in the small folds of the skin, on hair or under fingernails. Others cause body odor. Still others, called pathogens, cause disease.
We’ll call the bacteria normally found on your skin “resident” bacteria. They exist on the skin of normal, healthy people, and are usually not harmful. They’re always there and can’t be removed completely.
คำแนะนำการปฏิบัติตัว กับไข้หวัดสายพันธ์ 2009
คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น1)
ฉบับที่ 8
วันที่ 9 กรกฎาคม 2552
--------------------------
ปัจจุบันการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น 1) ได้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคมีความรุนแรงปานกลาง ประเทศไทยส่วนใหญ่พบในกรุงเทพฯและปริมณฑล และมีรายงานมากกว่า 60 จังหวัดแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา รองมาเป็นคนวัยทำงาน
คำแนะนำทั่วไป
ประชาชนทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจโรคที่ถูกต้อง ไม่ตื่นตระหนก รู้วิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ โดยการติดตามข้อมูลคำแนะนำต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุข รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ ผัก ผลไม้ ไข่ นม นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และฝึกนิสัยไม่ใช้มือแคะจมูก ขยี้ตา หรือจับต้องใบหน้า ถ้าจำเป็นควรใช้กระดาษทิชชูจะปลอดภัยกว่า ดูแลตนเองหรือคนในครอบครัวที่ป่วยได้ และป้องกันไม่แพร่เชื้อให้คนรอบข้าง โดยการหยุดเรียน หยุดงาน ปิดปากจูกเวลาไอจามด้วยกระดาษทิชชู สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดการระบาด และลดผลกระทบด้านต่างๆ ได้มากที่สุด
ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการป่วยใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่เกิดขึ้นทุกปี คือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย มีรายงานอาการสมองอักเสบน้อยมาก (4-5 ราย)
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (95%) มีอาการเล็กน้อย จะมีอาการทุเลาขึ้นตามลำดับ คือ ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น และหายป่วยภายใน 5-7 วัน จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ผู้ป่วยน้อยราย (5%) ที่มีอาการป่วยรุนแรงซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียนมาก ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) พบว่าส่วนใหญ่ (70% ของผู้ป่วยน้อยราย) เป็นกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคเลือด ไต เบาหวาน ฯลฯ) ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคมะเร็ง ฯลฯ) โรคอ้วน หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยส่วนหนึ่ง (30% ของผู้ป่วยน้อยราย) มีอาการรุนแรง แต่ไม่สามารถสอบสวนหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จึงต้องรีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ทันที
การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงที่บ้าน
หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึมหรืออ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวที่บ้านได้ โดยปฏิบัติดังนี้
ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก ไม่ออกไปนอกบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย หรือหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
แจ้งสถานศึกษาหรือที่ทำงานทราบ เพื่อจะได้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือสถานบริการทางการแพทย์ หรือคำสั่งของแพทย์
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง
เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดลดไข้บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเช็ดแขนขา เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัว และห่มผ้าให้อบอุ่น
ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง
นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียนมาก ไอมากจนเจ็บหน้าอก หายใจถี่ หอบ เหนื่อย ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
การแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ในบ้าน
ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกห้องจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
ปิดปากจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู แล้วทิ้งทิชชูลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่บ่อยๆ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย
คนอื่น ๆ ในบ้าน ควรอยู่ไกลจากผู้ป่วยประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
แหล่งข้อมูลการติดต่อเพื่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2245 8106, 0 2246 0358 และ 0 2354 1836
2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง
ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข http://www.moph.go.th/ และหากมีข้อสงสัย ติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง
Wednesday, July 8, 2009
wash u hand version nobody
Wash Your Hands Too
I dowan you to touch me baby
You go toilet nair wash hand right?
When you wash your body, wash your hands too
When you wash your body, wash your hands too
You don’t want get swine flu
Or someone pass to youYou
better wash your body your body your body
H1N1 is confirm no fun
Be careful where you go, US or Mexico
If you have temperature that mean you got fever
Don’t just take honey, this flu is not farny
Maybe it’s time to wear a mask
Maybe you have forgotten SARS
Whatever the weather, must bring ther-mo meter
Stick it in your armpit or down there!
When you wash your body, wash your hands too
When you wash your body, wash your hands too
Though the level is yellow
Don’t be dirty fellowYou better wash your body your body your body
When you wash your body, wash your hands too
When you wash your body, wash your hands too
Must wash after poo poo
Or germs will stick to you
Wash more than your body your body your body
I know you use finger, don’t let the smell linger
I know you dig gold, and wipe on some pole
You scratch your backside, and think you can hide
You play your below, take ice from my Milo
Maybe it’s time to be hygiene
Maybe you should be quarantined
Don’t be a spreader, we stay clean together
We’ll pick the kutus from each other’s hair!
When you wash your body, wash your hands too
When you wash your body, wash your hands too
If you think you’re infected
Don’t blur block go Orchard
Don’t pass to somebody somebody somebody
When you wash your body, wash your hands too
When you wash your body, wash your hands too
Must wash after pang jio
The Wonder Girls damn chio
They do wan your body your body your body
Back in the days when we only took a bath monthly now
Looking at you I feel, as sick Kim Jong Ill
Your breath smell like kimchi, you see
There’s no vaccine eugene
Go wash your body
Your body your body, wash your hands too
หัวอกicn กับการจัดการกับการเปลี่ยนพฤตกรรมบุคคลากร
สวัสดี!!!!>>>> รับไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ พอถึงวันนี้คนที่ งานหนัก งานเข้า คง จะเป็น พวกเราicn แน่นอนนะ อยากรู้มั่งจังหัวอก icn จะเหมือนกันมั๊ย แบบว่าหนักอกหนักใจ กับกลุ่มไข้หวัดใหญ่ที่มาเยือน ไม่ว่า การจัดหาวัคซีน การหาอุปกรณ์(mask เริ่มขาดแคลน) กับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ไม่รู้จะขายผลิตภัณท์ รึป้องกันตัวเองกันแน่
มาแชร์และให้กำลังใจกันเถอะ
Subscribe to:
Posts (Atom)